• หน้าแรก
  • บทความ
  • ประเทศไทยใช้ แผงโซล่าเซลล์ Poly Crystaline ดีกว่า แผงโซล่าเซลล์ Mono Crystaline จริงเหรอ?
ประเทศไทยใช้ แผงโซล่าเซลล์ Poly Crystaline ดีกว่า แผงโซล่าเซลล์ Mono Crystaline จริงเหรอ?

ประเทศไทยใช้ แผงโซล่าเซลล์ Poly Crystaline ดีกว่า แผงโซล่าเซลล์ Mono Crystaline จริงเหรอ?

05 ก.ย. 2566   ผู้เข้าชม 13

ในเทคโนโลยีแผงโซล่าเซลล์ในปัจจุบัน สิ่งที่นิยมเป็นอย่างมากคงหนีไม่พ้นแผงโซล่าเซลล์ที่ทำขึ้นจากซิลิคอน เนื่องจากเป็นเทคโนโลยีที่ประสิทธิภาพสูงและใช้ได้ถึงระดับของอุตสาหกรรม หากท่านจะเลือกแผงเพื่อติดตั้งโซล่าเซลล์ ไม่ว่าจะเป็นการติดตั้งที่บ้าน โรงงาน คาเฟ่ ออฟฟิศ หรือโรงแรมก็ตาม ทาง T-Solar Power แนะนำให้ใช้เป็นตัวของ Mono-Crystaline หรือ Poly-Crystaline เพราะจะยังไม่มีเทคโนโลยีอื่นก้าวขึ้นมาแซงหน้าในเร็ววันนี้

อย่างไรก็ตามมีข่าวลือในวงการการติดตั้งแผงโซล่าเซลล์ว่าแผงโซล่าเซลล์แบบ Poly Crytaline มีประสิทธิภาพในไทยมากกว่าแผงแบบ Mono Crystaline เพราะแผงแบบ Mono Crystaline จะมีความไวกับแสงทำให้ทำงานได้ดีกว่าแผงแบบ Poly Crystaline ในช่วงเช้าและเย็น ในขณะที่แผงแบบ Poly Crystaline ทำงานได้ดีในช่วงเวลาแดดจัด

 

ในบทความนี้ T-Solar Power จะมาอธิบายข้อดีของแผงโซล่าเซลล์ระหว่าง 2 ชนิดนี้ให้ท่านได้เข้าใจมากขึ้น

 

Mono Crystaline

เป็นชนิดที่ทำมาจากซิลิคอนที่มีความบริสุทธ์สูง โดยเริ่มสร้างจากซิลิคอนทรงกระบอกซึ่งเกิดจากกระบวนการกวนซิลิคอนให้ผลึกเกาะกันที่แกนกลางทำให้เกิดทรงกระบอก หลังจากนั้นจึงนำมาตัดให้เป็นสี่เหลี่ยมและตัดมุมทั้งสี่ออก เพื่อให้เซลล์มีประสิทธิภาพสูงสุดและลดการใช้วัตถุดิบโมโนซิลิคอนลง

ข้อดีของ Mono Crystaline
  • มีประสิทธิภาพสูงสุงเพราะผลิตมาจากซิลิคอนที่เกรดดีที่สุด
  • มีอายุการใช้งานยาวนานที่สุด โดยเฉลี่ยน 25 ปีขึ้นไป
ข้อเสียของ Mono Crystaline
  • มีราคาสูง
  • หากมีความสกปรกหรือถูกบังแสงในบางส่วนของแผง อาจทำให้วงจรหรือ inverter ไหม้เสียหายได้ เนื่องจากภาวะเกิดโวลต์สูงเกินไปหรือ high over voltage

 

Poly Crystaline

ทำมาจากซิลิคอนทั่วไปเรียนว่าโพลีคริสตัลไลน์ ในกระบวณการผลิตจะนำเอาซิลิคอนเหลวมาเทใส่พิมพ์ที่เป็นสี่เหลี่ยม ก่อนที่จะนำมาตัดเป็นแผ่นบาง ทำให้เซลล์แต่ละเซลล์เป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส ไม่มีการตัดมุมและสีของแผงจะเป็นสีน้ำเงิน

ข้อดีของ Poly Crystaline
  • มีตอนกระบวนการผลิตที่ง่าย ไม่ซับซ้อน ใช้ปริมาณซิลิคอนที่น้อยกว่า
  • มีประสิทธิภาพในการใช้งานในที่อุณหภูมิสูงได้ดีกว่า ชนิดโมโนคริสตัลไลน์เล็กน้อย เพราะแผงโซล่าเซลล์จะมีการวัดค่าประสิทธิภาพการทำงานของแผงโซล่าแต่ละชนิด ณ อุณหภูมิหนึ่ง เช่น การวัดประสิทธิภาพที่อุณหภูมิ 25 องศาเซลเซียส

 

ตัวอย่างเช่น

ณ อุณหภูมิคงที่ 25 องศาเซลเซียส

  • แผงโพลีคริสตัลไลน์ขนาด 100W สามารถผลิตกระแสไฟฟ้าได้ 80% คือ 80W/ ชั่วโมง
  • แผงโมโนคริสตัลไลน์ขนาด 100W สามารถผลิตกระแสไฟฟ้าได้ 85% คือ 85W/ ชั่วโมง

ณ อุณหภูมิคงที่ 27 องศาเซลเซียส

  • แผงโพลีคริสตัลไลน์ขนาด 100W สามารถผลิตกระแสไฟฟ้าได้ 88% คือ 88W/ ชั่วโมง
  • แผงโมโนคริสตัลไลน์ขนาด 100W สามารถผลิตกระแสไฟฟ้าได้ 75% คือ 75W/ ชั่วโมง 

ณ อุณหภูมิคงที่ 23 องศาฌซลเซียส

  • แผงโพลีคริสตัลไลน์ขนาด 100W สามารถผลิตกระแสไฟฟ้าได้ 75% คือ 75W /ชั่วโมง
  • แผงโมโนคริสตัลไลน์ขนาด 100W สามารถผลิตกระแสไฟฟ้าได้ 90% หรือ 90W /ชั่วโมง

 

จากตัวอย่างจะเห็นได้ว่าแผงโซล่าเซลล์ทั้งสองชนิดสามารถผลิตกระแสไฟฟ้าผันแปรตามอุณหภูมิ แต่แผงโพลีคริสตัลไลน์จะผลิตกระแสไฟฟ้าได้ดีกว่าในช่วงอุณหภูมิที่มากกว่า 25 องศาเซลเซียส ในทางกลับกันหากอุณหภูมิลดต่ำกว่า 25 องศาเซลเซียส โพลีคริสตัลไลน์จะมีความสามารถผลิตกระแสไฟฟ้าได้น้อยกว่าโมโนคริสตัลไลน์

 

นี่คือเหตุผลว่าทำไมแผงโมโนคริสตัลไลน์เป็นที่นิยมอย่างมากในเขตประเทศเมืองหนาวอย่างโซนยุโรป อเมริกา ญี่ปุ่น แต่สำหรับเมืองไทยที่มีอุณหภูมิเฉลี่ยสูงกว่า 25 องศาเซลเซียสอยู่แล้วแผงโพลีคริสตัลไลน์จึงเป็นที่นิยมกว่าในการติดตั้งแผงผลิตกระแสไฟฟ้า

 

ทาง T-Solar Power หวังว่าบทความนี้จะทำให้ท่านเข้าใจมากขึ้นว่าทำไมโพลีคริสตัลไลน์ถึงเป็นที่นิยมในไทย เพื่อประกอบการตัดสินใจในการติดตั้งแผงโซล่าเซลล์ และทาง T-Solar Power ยินดีเป็นอย่างยิ่งที่จะให้คำปรึกษา และแนะแนวทางการติดตั้งโซล่าเซลล์ให้เหมาะสมกับสถานที่ของท่าน ไม่ว่าจะเป็นบ้าน โรงงานหรือออฟฟิศ ทางเราก็ยินดีให้บริการอย่างเต็มที่

 

ด้วยความห่วงใย

T-Solar Power Hatyai 

บริษัทติดตั้งแผงโซล่าเซลล์ภาคใต้ที่มีประสบการณ์อย่างยาวนาน




บทความที่เกี่ยวข้อง

4 วิธีการดูแลระบบโซล่าเซลล์ ให้อยู่กับเราไปนานนานนน
10 ก.ย. 2566

4 วิธีการดูแลระบบโซล่าเซลล์ ให้อยู่กับเราไปนานนานนน

เกร็ดความรู้โซล่าเซลล์
ระบบโซล่าเซลล์ในไทยมีกี่แบบ? ควรติดตั้งแบบไหนดี?
24 พ.ค. 2566

ระบบโซล่าเซลล์ในไทยมีกี่แบบ? ควรติดตั้งแบบไหนดี?

เกร็ดความรู้โซล่าเซลล์